ประวัติความเป็นมา
หน้าแรก / ประวัติความเป็นมา
วันที่ 25 มกราคม 2567 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางที่ได้พิพากษายกคำร้ องของสำนักปลัดนายกรัฐมนตรี (สปน.) ที่ขอเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในกรณีข้อพิพาทระหว่าง ITV และ สปน. ที่ไอทีวีได้ยื่นข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2550เพื่อให้พิจารณาว่าการบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมและดำเนินการ สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ UHF (สัญญาเข้าร่วมงานฯ) ในวันที่ 7 มีนาคม 2550 ของสปน. ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดมีผลให้คดีนี้ถึงที่สุด โดยไอทีวีและสปน. ต่างไม่มีหนี้จำนวน 2,890 ล้านบาท ที่ต้องชำระต่อกันอีก และ ไอทีวีไม่มีหนี้ที่ต้องชำระ หรือภาระหน้าที่ หรือความรับผิดตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ หรือภาระผูกพันใดๆ กับสปน. อีกต่อไป
อินทัชปรับปรุงนโยบายการจ่ายเงินปันผลจากเดิมจะพิจารณาจ่ายจากเงินปันผลส่วนใหญ่ที่บริษัทได้รับหลังหักค่าใช้ จ่ายหากไม่มีเหตุผลจำเป็นอื่นใด เป็น“พิจารณาจ่ายในอัตราร้อยละ 100 จากเงินปันผลที่ได้รับหลังหักค่าใช้จ่ายหากไม่มีเหตุผลจำเป็นอื่นใด”
บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด (mPAY) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ AIS ได้จำหน่ายเงินลงทุนทั้งหมดในสัดส่วนร้อยละ 33.33 ในบริษัท แรบบิท-ไลน์ เพย์ จำกัด (RLP) ซึ่งดำเนินธุรกิจให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์(e-wallet) ผ่านแอปพลิเคชัน ไลน์ ให้แก่ บริษัท ไลน์แมน(ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัทไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย)จำกัดทั้งนี้ AIS ยังคงมีทิศทางการดำเนินธุรกิจเพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านดิจิทัลไลฟ์ โดยต่อยอดจากธุรกิจหลักของบริษัทและบริการอื่นๆ ที่มีอยู่ เพื่อสร้างประสบการณ์ในการเข้าถึงบริการในด้านต่างๆ ต่อไป
บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด(AWN) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ AIS ได้ทำข้อตกลงรับโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 700 MHz จากบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด(มหาชน) (NT) ในย่านความถี่ 738-743 MHz คู่กับ 793-798 MHz (แถบความกว้าง 2×5 MHz) สิ้นสุดใบอนุญาตวันที่31 มีนาคม 2579 ซึ่งการรับโอนคลื่นดังกล่าวได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แล้ว และคลื่นความถี่ย่านดังกล่าวมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 14,866 ล้านบาท ทำให้เอไอเอสสามารถขยายบริการ 5G ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกลในต่างจังหวัดและบริเวณอาคารสูงได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งยกระดับความจุโครงข่ายเพื่อรองรับความต้องการใช้ 5G ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด(AWN)ได้ดำเนินการเข้าซื้อหุ้นในบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์จำกัด(มหาชน) (TTTBB) และ AIS ได้เข้าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตจัสมิน (JASIF) เสร็จสมบูรณ์เป็นผลให้ TTTBB เป็นบริษัทย่อยของ AWN และ AIS เข้าถือหน่วยลงทุนในJASIF ในสัดส่วนร้อยละ 19.00 เป็นที่เรียบร้อย ณ วันที่15 พฤศจิกายน 2566 ทำให้ธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้านของเอไอเอสมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยฐานลูกค้ากว่า 4.7 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ และก้าวสู่การเป็นผู้นำในตลาดอินเทอร์เน็ตบ้านของประเทศไทยด้วยโครงข่ายที่ครอบคลุมกว่า 13 ล้านครัวเรือน
จำหน่ายหุ้นทั้งหมดที่บริษัทถืออยู่ในไทยคมให้กับบริษัท กัลฟ์ เวนเชอร์ส จำากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นในสัดส่วน ร้อยละ 100 ในวันที่ 30 ธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นไปตามมติ ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2565 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565 การจำหน่ายหุ้นทั้งหมดในไทยคมนี้ มีผลทำให้ไทยคมสิ้นสภาพการเป็นบริษัทย่อยของบริษัท
จำหน่ายหุ้นทั้งหมดที่บริษัทถืออยู่ในบริษัทภายใต้โครงการ อินเว้นท์ จำานวน 10 บริษัท ทำให้ ณ สิ้นปี 2565 คงเหลือบริษัท ที่อยู่ภายใต้โครงการอินเว้นท์ทั้งสิ้น 6 บริษัท
จัดตั้งบริษัทย่อย บริษัท เอไอเอส ดีซี เวนเจอร์ จำกัด และ ลงนามลงทุนในสัญญาร่วมพัฒนาธุรกิจศูนย์ข้อมูล (Joint Development Agreement – Data Center Business) ร่วมกับ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และ Singapore Telecommunications Limited (Singtel) เพื่อรองรับการเติบโตและตอบสนองต่อความต้องการ โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในประเทศไทย
บริษัท เอไอเอส ดิจิทัลไลฟ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่เอไอเอส ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ซื้อหุ้นในบริษัท Startup จำานวน 3 แห่ง จากอินทัช ได้แก่ บริษัท ช็อคโก้ คาร์ด เอ็นเตอรไพรส์ จำกัด บริษัท ดาต้าฟาร์ม จำกัด และบริษัท สวิฟท์ ไดนามิคส์ จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการด้านดิจิทัล แก่ลูกค้า รวมถึงต่อยอดและสนับสนุนความแข็งแกร่งของ ธุรกิจหลัก ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางในการดำาเนินธุรกิจของ เอไอเอสที่มุ่งสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านดิจิทัลไลฟ
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565 ไทยคมได้รับคำชี้ขาดของ คณะอนุญาโตตุลาการ ลงวันที่ 29 กันยายน 2565 ซึ่งได้มีคำชี้ขาดเป็นเอกฉันท์ว่า ดาวเทียมไทยคม 7 และ ไทยคม 8 มิได้เป็นดาวเทียมภายใต้สัญญาดำเนินกิจการ ดาวเทียมสื่อสารฯ ไทยคมจึงไม่มีหน้าที่ใดๆ ที่ต้อง ดำเนินการตามที่กระทรวงดิจิทัลฯ กล่าวอ้าง และ/หรือ ร้องขอตามที่เป็นข้อพิพาท
เดือนธันวาคม ได้รับรางวัล The Most Powerful Brands of Thailand 2020 หรือแบรนด์ที่ทรงพลังที่สุด ในหมวด Mobile Operator ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ซึ่งจัดโดยภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับรางวัล MIKE Award 2021 ในด้านการจัดการองค์ความรู้และนวัตกรรม โดย AIS เป็นองค์กรด้านเทเลคอมของไทยหนึ่งเดียวที่ได้รับถึง 2 รางวัล คือ Winners of the Global MIKE Award 2021 สองปีซ้อน และรางวัล MIKE Thailand Gold Award 2021
เดือนมิถุนายน ได้จดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท ทีซี สเปซ คอนเน็ค จำกัด (TCSC) เพื่อดำเนินการประกอบธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ธุรกิจดาวเทียมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ด้วยทุนจดทะเบียนจำนวน 100 ล้านบาท มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ 10 บาทต่อหุ้น มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วจำนวน 25 ล้านบาท โดยไทยคมถือหุ้นร้อยละ 100
เดือนกันยายน สัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศสิ้นสุดลงในวันที่ 10 กันยายน 2564 โดยไทยคมได้ส่งมอบการครอบครองดาวเทียมและทรัพย์สินทั้งหมดตามสัญญาคืนให้แก่กระทรวงดิจิทัลฯ ครบถ้วนแล้ว ณ วันสิ้นสุดสัญญา โดยกระทรวงดิจิทัลฯ ได้มอบสิทธิในการบริหารจัดการดาวเทียมภายใต้สัญญาให้กับบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (เอ็นที) หลังจากการสิ้นสุดของสัญญา บริษัทย่อยของไทยคมได้เข้าทำข้อตกลงเพื่อซื้อแบนด์วิธบางส่วนบนดาวเทียมไทยคม 4 และดาวเทียมไทยคม 6 กับเอ็นที เพื่อไปให้บริการลูกค้า ดังนั้น นับตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2564 ตามข้อตกลงที่มีกับเอ็นที กลุ่มไทยคมจึงสามารถขายช่องสัญญาณดาวเทียมบนดาวเทียมไทยคม 4 และดาวเทียมไทยคม 6 กับลูกค้าบางส่วนของกลุ่มไทยคมได้ต่อไป
อินทัชลงทุนในบริษัทร่วมลงทุนในโครงการอินเว้นท์เพิ่ม 1 บริษัท ได้แก่ บริษัท โคนิเคิลจำกัด และลงทุนในกองทุน Viola Venture VI, LP. ซึ่งเป็นกองทุนธุรกิจร่วมลงทุน (Venture capital) ในประเทศอิสราเอล ใน ปี 2564 อินทัชได้ขายหุ้นทั้งหมดในบริษัท อีเว้นท์ ป็อป โฮลดิ้งส์ พีทีอี ลิมิเต็ด และบริษัท วีวีอาร์ เอเชีย จำกัด ทำให้ ณ สิ้นปี 2564 มีบริษัทที่อยู่ภายใต้โครงการอินเว้นท์ทั้งสิ้น 17 บริษัท
อินทัชได้ขายหุ้นที่ถือทั้งหมดใน ไฮ ช็อปปิ้ง ให้แก่ บริษัท เจเคเอ็น เบสท์ ไลฟ์ จำกัด
เดือนมกราคม เอดับบลิวเอ็น (บริษัทย่อยของเอไอเอส) ชำระค่าคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz งวดที่ 1 และในเดือนกุมภาพันธ์ ชำระค่าคลื่น 26 GHz พร้อมนำเทคโนโลยี 5G จากทุกคลื่นความถี่มาสร้างประโยชน์ ตามเจตนารมณ์ของภาครัฐที่ต้องการให้ ประเทศไทยก้าวสู่ Digital Intelligent Nation อย่างสมบูรณ์
เดือนกุมภาพันธ์ ได้รับรางวัล “Thailand Mike Award 2020” และ “Global Mike Award 2020” ด้านความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีของไทยที่สนับสนุนให้ เกิดการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรม และการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
เดือนมิถุนายน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ให้บริการอย่างเป็นทางการของ Disney+ Hotstar
เดือนตุลาคม ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทร่วมทุนแห่งใหม่ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้ชื่อ บริษัท เอไอเอสซีบี จำกัด (AISCB) ทุนจดทะเบียน 600 ล้านบาท ราคาหุ้นละ 100 บาท เอไอเอส มีสัดส่วนการถือหุ้น ร้อยละ 50 คิดเป็นเงินลงทุน 300 ล้านบาท วัตถุประสงค์หลักในการประกอบธุรกิจให้บริการด้านสินเชื่อผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Lending)
เดือนพฤศจิกายน ติดอันดับดัชนีความยั่งยืนระดับโลก DJSI ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศด้วยเศรษฐกิจดิจิทัลให้เกิดการพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน และได้รับรางวัลสุดยอดองค์กรดีเด่นที่น่าทำงานมากที่สุดในเอเชีย 3 ปีซ้อน HR Asia Best Companies to Work for in Asia 2021 สะท้อนความสำเร็จด้านการ “พัฒนาบุคลากร” ผ่านความแข็งแกร่งด้านดิจิทัลเทคโนโลยี
เดือนธันวาคม ได้รับรางวัล The Most Powerful Brands of Thailand 2020 หรือแบรนด์ที่ทรงพลังที่สุด ในหมวด Mobile Operator ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ซึ่งจัดโดยภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับรางวัล MIKE Award 2021 ในด้านการจัดการองค์ความรู้และนวัตกรรม โดย AIS เป็นองค์กรด้านเทเลคอมของไทยหนึ่งเดียวที่ได้รับถึง 2 รางวัล คือ Winners of the Global MIKE Award 2021 สองปีซ้อน และรางวัล MIKE Thailand Gold Award 2021
เดือนมิถุนายน ได้จดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท ทีซี สเปซ คอนเน็ค จำกัด (TCSC) เพื่อดำเนินการประกอบธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ธุรกิจดาวเทียมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ด้วยทุนจดทะเบียนจำนวน 100 ล้านบาท มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ 10 บาทต่อหุ้น มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วจำนวน 25 ล้านบาท โดยไทยคมถือหุ้นร้อยละ 100
เดือนกันยายน สัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศสิ้นสุดลงในวันที่ 10 กันยายน 2564 โดยไทยคมได้ส่งมอบการครอบครองดาวเทียมและทรัพย์สินทั้งหมดตามสัญญาคืนให้แก่กระทรวงดิจิทัลฯ ครบถ้วนแล้ว ณ วันสิ้นสุดสัญญา โดยกระทรวงดิจิทัลฯ ได้มอบสิทธิในการบริหารจัดการดาวเทียมภายใต้สัญญาให้กับบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (เอ็นที) หลังจากการสิ้นสุดของสัญญา บริษัทย่อยของไทยคมได้เข้าทำข้อตกลงเพื่อซื้อแบนด์วิธบางส่วนบนดาวเทียมไทยคม 4 และดาวเทียมไทยคม 6 กับเอ็นที เพื่อไปให้บริการลูกค้า ดังนั้น นับตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2564 ตามข้อตกลงที่มีกับเอ็นที กลุ่มไทยคมจึงสามารถขายช่องสัญญาณดาวเทียมบนดาวเทียมไทยคม 4 และดาวเทียมไทยคม 6 กับลูกค้าบางส่วนของกลุ่มไทยคมได้ต่อไป
อินทัชลงทุนในบริษัทร่วมลงทุนในโครงการอินเว้นท์เพิ่ม 1 บริษัท ได้แก่ บริษัท โคนิเคิลจำกัด และลงทุนในกองทุน Viola Venture VI, LP. ซึ่งเป็นกองทุนธุรกิจร่วมลงทุน (Venture capital) ในประเทศอิสราเอล ใน ปี 2564 อินทัชได้ขายหุ้นทั้งหมดในบริษัท อีเว้นท์ ป็อป โฮลดิ้งส์ พีทีอี ลิมิเต็ด และบริษัท วีวีอาร์ เอเชีย จำกัด ทำให้ ณ สิ้นปี 2564 มีบริษัทที่อยู่ภายใต้โครงการอินเว้นท์ทั้งสิ้น 17 บริษัท
อินทัชได้ขายหุ้นที่ถือทั้งหมดใน ไฮ ช็อปปิ้ง ให้แก่ บริษัท เจเคเอ็น เบสท์ ไลฟ์ จำกัด
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ เอดับบลิวเอ็น (บริษัทย่อยของเอไอเอส) ชนะการประมูลและได้รับการจัดสรรใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 5G ครบทุกย่านความถี่ ย่านความถี่ต่ำ 700 เมกะเฮิรตซ์ (ความกว้าง 2 x 5 เมกะเฮิรตซ์) ย่านความถี่กลาง 2600 เมกะเฮิรตซ์ (ความกว้าง 100 เมกะเฮิรตซ์) และย่านความถี่สูง 26 กิกะเฮิรตซ์ (ความกว้าง 1200 เมกะเฮิรตซ์) ด้วยราคารวมทั้งสิ้น 42,060 ล้านบาท
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ เอไอเอสเปิดให้บริการ 5G ทั่วประเทศ ด้วยคลื่นความความถี่ 2600 เมกะเฮิรตซ์ โดยเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เปิดให้บริการ 5G อย่างเป็นทางการในประเทศไทย
เมื่อเดือนมีนาคม ดับบลิวดีเอส (บริษัทย่อยของเอไอเอส) ร่วมลงทุนในบริษัท ดิจิตอล เกมมิ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล พีทีอี ให้บริการ Gaming Content Platform ด้วยเทคโนโลยี AI สำหรับกลุ่มผู้เล่นเกมส์ที่ต้องการเข้าถึงคอนเทนต์เกมส์ออนไลน์และอีสปอร์ตที่หลากหลาย ด้วยความร่วมมือกับ สิงเทล และ บริษัท เอสเค เทเลคอม จำกัด
เมื่อเดือนมิถุนายน เอบีเอ็น (บริษัทย่อยของเอไอเอส) จัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับ บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ให้บริการโครงข่ายใยแก้วนำแสงและ ICT Infrastructure ในสวนอุตสาหกรรม SPI กว่า 7,255 ไร่ และพร้อมนำบริการโซลูชั่นเทคโนโลยี 5G เข้าร่วมพัฒนายกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงาน
เมื่อเดือนกรกฎาคม เอไอเอสได้ร่วมมือกับ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) นำโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สำคัญ เช่น เทคโนโลยี 5G และโครงข่ายใยแก้วนำแสง เพื่อรองรับการทำโซลูชันยกระดับ Smart City ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC
เมื่อเดือนสิงหาคม เอไอเอสได้ร่วมมือกับ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา นำเครือข่าย 5G พัฒนาโซลูชันการจัดการผู้โดยสารและนำหุ่นยนต์อัจฉริยะ AI (Artificial Intelligence) มาช่วยให้บริการข้อมูลพื้นฐานในสนามบินและช่วยนำผู้โดยสารไปยังจุดให้บริการต่างๆ รวมทั้งโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้แบบทันที
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ไทยคมได้ยุติการใช้งานดาวเทียมและทำการปลดระวางดาวเทียมไทยคม 5 ทั้งนี้ ดาวเทียมไทยคม 5 มีการใช้งานมาแล้วร่วม 14 ปี โดยส่งขึ้นสู่วงโคจรตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2549
เมื่อเดือนมิถุนายน บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (กสท) (ควบรวมกิจการกับทีโอทีและได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที) และ ไทยคม ได้ร่วมกันจัดตั้ง บริษัท เนชั่นสเปซแอนด์เทคโนโลยี (เนชั่นสเปซ) ขึ้นเพื่อให้บริการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียม อาทิ ธุรกิจดาวเทียมวงโคจรระยะต่ำ (Low Earth Orbit Satellite) โดย ไทยคม และ เอ็นที ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 75 และร้อยละ 25 ตามลำดับ
เมื่อเดือนกรกฏาคม บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (เออาร์วี) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทย แอดวานซ์ อินโนเวชั่น จำกัด (ไทยเอไอ) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของไทยคม ได้ร่วมกันจัดตั้ง บริษัท เอทีไอ เทคโนโลยีส์ จำกัด (เอทีไอ) ขึ้นเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการเกี่ยวกับอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรนเพื่อการเกษตร โดย เออาร์วี และ ไทยเอไอ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50 เท่ากัน
เมื่อเดือนเมษายน แอลทีซี (บริษัทร่วมค้าของบริษัทย่อยของไทยคม) ได้จัดตั้ง บริษัท ลาว โมบายมันนี่ โซล จำกัด เพื่อให้บริการชำระเงินและโอนเงินดิจิทัลใน สปป.ลาว ให้บริการทั้งผู้ประกอบการเอกชนและหน่วยงานภาครัฐ โดยทำการตลาดในชื่อแบรนด์ M-Money
ไฮ ช็อปปิ้ง ได้ปรับตัวในการทำธุรกิจจากพฤติกรรมของผู้ซื้อที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในช่วงที่มีมาตรการปิดเมือง (Lock down) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด 19 ทำให้เห็นโอกาสและศักยภาพในการทำรายได้จากตลาดออนไลน์ จึงได้เน้นการทำการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ เช่น ผ่านกลุ่มคนที่มีอิทธิพล (influencer) ในโลกออนไลน์ซึ่งเป็นเครื่องมือในการโน้มน้าวผู้บริโภคให้สนใจ รวมถึงการหาสินค้าที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาดนี้ เช่น สินค้าเพื่อสุขภาพและเครื่องสำอาง
อินทัชลงทุนในบริษัทร่วมลงทุนในโครงการอินเว้นท์เพิ่ม 5 บริษัท ได้แก่ บริษัท ดาต้าฟาร์ม จำกัด บริษัท แอกซินัน พีทีอี ลิมิตเต็ด บริษัทพาโรนีม บริษัท ชมชอบกรุ๊ป จำกัด และบริษัท สวิฟท์ ไดนามิคส์ จำกัด นอกจากนี้ ได้ลงทุนเพิ่มในบริษัท เพียร์ พาวเวอร์ จำกัด และบริษัท ช็อคโก้ คาร์ด เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ที่ได้ลงทุนไปก่อนหน้า จึงทำให้มีบริษัทร่วมทุนภายใต้โครงการอินเว้นท์ทั้งสิ้น 18 บริษัท
เมื่อเดือนเมษายน อินทัชได้ออกจากการลงทุนในบริษัท โซเชียลเนชั่น และในเดือนกันยายน ได้ออกจากการลงทุนในบริษัท วงใน มีเดีย จำกัด
ไฮ ช็อปปิ้ง ยังมีการเติบโตของยอดขายอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง และได้นำเสนอสินค้าที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยปีนี้ได้เพิ่มสินค้าที่มีอัตรากำไรสูง และมีการทำการตลาดโดยเพิ่มรายการตามช่องทางต่างๆมากยิ่งขึ้น เช่น ช่องทางทีวีดิจิทัล ช่องในระบบเพย์ทีวี และช่องในระบบทีวีดาวเทียม เพื่อให้ครอบคลุมถึงผู้ชมได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้เริ่มเก็บค่าส่งในไตรมาสที่ 4 เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้อีกช่องทางหนึ่ง
อินทัชลงทุนในบริษัทร่วมลงทุนในโครงการอินเว้นท์เพิ่มอีก 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท เพียร์ พาวเวอร์ จำกัด บริษัท ด็อกเตอร์เอทูแซด จำกัด และบริษัท นินจา โลจิสติกส์ พีทีอี ลิมิเต็ด นอกจากนี้ยังได้ทำการขายหุ้นของบริษัท ดิจิโอ (ประเทศไทย) จำกัด และได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ร้อยละ 30 (อัตรากำไรจากการลงทุน) จึงทำให้มีบริษัทร่วมทุนภายใต้โครงการอินเว้นท์ในปัจจุบันทั้งสิ้น 15 บริษัท
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม เอดีดี (บริษัทย่อยของเอไอเอส) เริ่มดำเนินธุรกิจโบรกเกอร์ประกันภัยออนไลน์ โดยการนำเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัล มาใช้ในการพัฒนาสินค้าและบริการ เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนไทย รวมถึงสนับสนุนพันธมิตรในอุตสาหกรรมต่างๆ ให้เติบโตอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม เอไอเอส ได้รับการจัดอันดับเป็น “แบรนด์โทรคมนาคมที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก อันดับ 1 – World’s Strongest Telecoms Brand” จากผลสำรวจและจัดอันดับแบรนด์ที่แข็งแกร่งที่สุด ประจำปี 2562 โดย Brand Finance องค์กรที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และคุณค่าของแบรนด์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งประเมินจากความแข็งแกร่งทางการเงิน การลงทุน การดูแลผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างครบถ้วน พร้อมขีดความสามารถในการขยายตัวสู่ธุรกิจใหม่ได้อย่างโดดเด่น
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน เอดับบลิวเอ็น (บริษัทย่อยของเอไอเอส) ได้สิทธิในการได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ ช่วงความถี่วิทยุ 723 – 733 เมกะเฮิรตซ์คู่กับ 778 – 788 เมกะเฮิรตซ์ จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการ 5G และก้าวไปสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านดิจิทัลไลฟ์อย่างครบวงจรเพื่อภาคธุรกิจและองค์กร
เมื่อวันที่ 24 กันยายน เอไอเอสและท่าอากาศยานนานาชาติ อู่ตะเภา ระยอง-พัทยา ร่วมกันเปิดตัวบริการดิจิทัลใหม่ เพื่อเสริมศักยภาพสู่การเป็นอาคารผู้โดยสารอัจฉริยะ หรือ “Smart Terminal” ในอนาคต
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน เอไอเอส ร่วมมือกับพันธมิตรบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท แซดทีอี คอร์ปอเรชัน ในการทดสอบเทคโนโลยี 5G โดยเอไอเอสเป็นผู้ประกอบการรายเดียวที่ทดสอบเทคโนโลยี 5G ทั่วประเทศไทย
เมื่อเดือนมกราคม แอลทีซี (บริษัทร่วมค้าของบริษัทย่อยของไทยคม) ได้เข้าลงทุนซื้อกิจการของบริษัท วิมเปิลคอม จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใน สปป.ลาวเช่นเดียวกัน โดยเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 100 จากรัฐบาล สปป.ลาว การเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้เป็นการช่วยเพิ่มโครงข่ายโทรคมนาคมของแอลทีซีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยขยายกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าวัยรุ่น ทั้งนี้ หลังจากการเข้าซื้อกิจการ บริษัท วิมเปิลคอม จำกัด ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ทีพลัส ดิจิทัล จำกัด เมื่อวันที่ 2 กันยายน
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ไทยคมได้จำหน่ายเงินลงทุนในหุ้นสามัญที่ไทยคมถืออยู่ทั้งหมดใน ซีดีเอ็น ให้กับ Quality TV Shopping Co., Ltd. ในราคารวมเป็นเงินทั้งสิ้น 800,000 ดอลล่าร์สหรัฐ (24,640,320 บาท) โดยการจำหน่ายเงินลงทุนดังกล่าว เนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนทิศทางธุรกิจของไทยคม
เมื่อวันที่ 20 กันยายน ไทยคมได้ประกาศความร่วมมือกับ บริษัท รัสเซีย แซทเทลไลท์ คอมมิวนิเคชั่นส์ (อาร์เอสซีซี) โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะร่วมกันพัฒนาโครงข่ายโรมมิ่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขยายพื้นที่การให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมทางทะเล โดยในส่วนของของไทยคม การโรมมิ่งจะปฏิบัติการบนแพลตฟอร์มบริการ Nava® ซึ่งเป็นบริการบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ ใช้สื่อสารระหว่างเรือที่ออกไปปฏิบัติการกับชายฝั่ง โดยสามารถเชื่อมต่อทุกคน ทุกที่ ให้สื่อสารกันได้แม้อยู่ในท้องทะเล ในขณะเดียวกัน เครือข่ายบรอดแบนด์ทางทะเลของอาร์เอสซีซี นับได้ว่าเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในรัสเซีย สามารถเชื่อมต่อกับเรือเดินทะเลได้มากกว่า 300 ลำ ที่ปฏิบัติงานในน่านน้ำโดยรอบของรัสเซียและยุโรป
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ไทยคมได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับ บริษัท ไชน่า เกรท วอลล์ อินดัสทรี คอร์ปอเรชั่น หรือ ไชน่า เกรท วอลล์ เพื่อร่วมกันพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือ Unmanned Aerial Vehicles (UAV) และ BeiDou ซึ่งเป็นระบบพิกัดนำทางด้วยดาวเทียมที่พัฒนาและเป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศจีน (BDS) โดยความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของไทยคมสู่ธุรกิจใหม่ๆ ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และเป็นการก้าวสู่การบูรณาการเทคโนโลยีจากอวกาศสู่ภาคพื้นดินและทางทะเล (space, air, ground and maritime networks) มาใช้เพื่อการต่อยอดดำเนินธุรกิจ
ไฮ ช็อปปิ้ง มีการเติบโตของยอดขายอย่างต่อเนื่อง โดยได้นำเสนอสินค้าที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยปีนี้ได้เพิ่มสินค้าประเภทแฟชั่นและเครื่องประดับ รวมถึงสินค้าที่มีความต้องการตามฤดูกาล และมีการทำการตลาดโดยเพิ่มรายการสดเพื่อกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเพิ่มช่องทางการรับชมอย่างต่อเนื่องกับผู้ประกอบการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อเพิ่มการเข้าถึงผุ้บริโภคให้มากขึ้น
อินทัชลงทุนในบริษัทร่วมลงทุนในโครงการอินเว้นท์เพิ่มอีก 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ช็อคโก้ คาร์ด เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด และบริษัท อีคาร์ทสตูดิโอ จำกัด นอกจากนี้ได้เข้าลงทุนในบริษัท วีวีอาร์ เอเซีย จำกัด ด้วยเงินลงทุนในบริษัท อินฟินิตี้ เลเวล สตูดิโอ พีทีอี ลิมิเต็ด และ บริษัท ซินโนส จำกัด จึงทำให้มีบริษัทร่วมทุนภายใต้โครงการอินเว้นท์ในปัจจุบันทั้งสิ้น 13 บริษัท
เมื่อวันที่ 5 มกราคม เอดับบลิวเอ็นและเอสบีเอ็น (บริษัทย่อยของเอไอเอส) ได้ลงนามในสัญญาเชิงพาณิชย์ทางธุรกิจกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของโครงข่ายและรองรับการเจริญเติบโตการใช้งานประเภทข้อมูลของลูกค้ากว่า 40 ล้านรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ สัญญาดังกล่าวครอบคลุมการดำเนินการเชิงพาณิชย์ร่วมกันจนถึงเดือนสิงหาคม 2568
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม เอเอ็มพี (บริษัทย่อยของเอไอเอส) ได้เข้าลงนามในสัญญาร่วมกับบริษัท แรบบิทเพย์ ซิสเทม จำกัด และไลน์ เพย์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) ลงทุนในบริษัท แรบบิท-ไลน์ เพย์ จำกัด (“RLP”) ในสัดส่วนบริษัทละร้อยละ 33.33 เพื่อขยายธุรกิจให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม เอดับบลิวเอ็นรายงานผลการดำเนินการเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของซีเอสแอล เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายหลังการเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าว เอดับบลิวเอ็นมีสัดส่วนการถือหุ้นในซีเอสแอลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 81.47 เป็นร้อยละ 98.96
เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม เอดับบลิวเอ็น ได้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ช่วงความถี่วิทยุ 1740-1745 เมกะเฮิรตซ์คู่กับ 1835-1840 เมกะเฮิรตซ์ จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อทำให้ลูกค้ากว่า 40 ล้านรายได้รับประสบการณ์การใช้งานเพิ่มมากขึ้นในเรื่องคุณภาพทั้งบริการผ่านเสียง และบริการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงสุดตามมาตรฐานเทคโนโลยี 4G
ไทยคมปรับกลยุทธ์มุ่งสู่การเป็นผู้นำธุรกิจดาวเทียมและดิจิทัลแพลตฟอร์มแห่งเอเชีย เน้นเติบโตใน 3 ธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจดาวเทียม (Core Business) ธุรกิจข้างเคียงซึ่งรวมถึงการสร้างดิจิทัลเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม (Adjacent New Business) และ ธุรกิจใหม่ๆในยุคดิจิทัล (New Business Prototyping)
ไทยคมเปิดตัวบริการด้านดิจิทัล “Nava™” บริการสื่อสารอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทางทะเล เพื่อเชื่อมต่อการสื่อสารให้เรือที่ออกไปปฎิบัติการสามารถติดต่อกับชายฝั่ง พร้อมยกระดับอุตสาหกรรมการเดินเรือให้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ไทยคมประสบความสำเร็จในการบรรลุข้อตกลงในสัญญาระยะยาว เพื่อให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจและการตลาด ให้แก่บริษัท บังกลาเทศ คอมมิวนิเคชั่นส์ แซทเทลไลท์ จำกัด ซึ่งถือหุ้นโดยรัฐบาลบังกลาเทศ เพื่อพัฒนาการให้บริการของดาวเทียมบังกาบันฑุ (Bangabandhu-1) ที่ได้จัดส่งขึ้นสู่วงโคจรค้างฟ้า เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2561 และเป็นดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของบังกลาเทศ
เมื่อวันที่ 5 กันยายน เอไอเอสยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงแบบ มีเงื่อนไขและไม่ผูกพันในการเสนอซื้อหุ้นซีเอสแอลจากไทยคมและ สิงเทล ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวนรวมร้อยละ 56.21 ในราคาหุ้นละ 7.80 บาท และวันที่ 14 ธันวาคม เอดับบลิวเอ็น ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ของเอไอเอสได้ยื่นคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดโดยสมัครใจแบบ มีเงื่อนไขต่อผู้ถือหุ้นของซีเอสแอลในราคาเดียวกัน
ไฮ ช็อปปิ้ง ปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล โดยร่วมมือกับ Lazada และ Shopee ร้านค้าออนไลน์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของประเทศไทย เพื่อเพิ่มช่องทางขายสินค้าและเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น
อินทัชลงทุนในบริษัทร่วมลงทุนในโครงการอินเว้นท์เพิ่มอีก 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท ดิจิโอ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อีเว้นท์ ป็อป โฮลดิ้งส์ พีทีอี ลิมิเต็ด และบริษัท อีคอมเมิร์ซ เอ็นเนเบลอส์ พีทีอี ลิมิเต็ด (Shopback) จึงทำให้มีบริษัทร่วมทุนภายใต้ การบริหารในรูปแบบคอร์ปอเรท เวนเจอร์ แคปปิตอลในปัจจุบัน ทั้งสิ้น 11 บริษัท
เอไอเอส เปิดตัวเครือข่ายใหม่ AIS NEXT G เพื่อตอบสนอง พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการใช้งานด้านข้อมูลสูงขึ้นด้วยการ ผสมผสานประสิทธิภาพของความถี่ AIS 4G ADVANCED และ AIS SUPER WIFI เข้าด้วยกัน ทำให้เกิดเครือข่ายใหม่ที่มีความเร็ว สูงสุดระดับกิกะบิตต่อวินาที
ไทยคมร่วมมือกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท สตาร์คอร์ มีเดีย เทคโนโลยี จำกัด เพื่อพัฒนา แพลตฟอร์มบริการแพร่ภาพและเสียงผ่านแอพพลิเคชั่นบน อินเทอร์เน็ต หรือ Over The Top (OTT) ในประเทศไทย ซึ่งจะ ช่วยเสริมสร้างการให้บริการแพลตฟอร์ม OTT ในอนาคตสำหรับ ลูกค้าองค์กร สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบ การโทรคมนาคมต่างๆ ในประเทศไทย
เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2559 ไฮ ช็อปปิ้ง ได้เริ่มดำเนินธุรกิจโฮมช็อปปิ้งผ่านการแพร่ภาพทางโทรทัศน์บนช่องดาวเทียม และตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2559 ได้เพิ่มช่องทางการนำเสนอสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ www.highshopping.com และทางแอพพลิเคชั่น HIGH SHOPPING
บริษัทลงทุนในบริษัทร่วมลงทุนในโครงการอินเว้นท์เพิ่มอีกทั้งสิ้น 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท วงใน มีเดีย จำกัด และ บริษัทโซเชี่ยล เนชั่น และได้ออกจากการลงทุนในบริษัท คอมพิวเตอร์โลจีจำกัด และ บริษัท ชอปสปอท โมบิลิตี้ พีทีอี ลิมิเต็ด
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2559 บริษัทแอดวานซ์ ไวร์เลสเน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) ได้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ช่วงความถี่วิทยุ895 – 905 เมกะเฮิรตซ์ คู่กับ 940 – 950 เมกะเฮิรตซ์ จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทำให้สามารถให้บริการ 4G ได้ครอบคลุมร้อยละ 98 ของจำนวนประชากรในประเทศด้วยสถานีฐานกว่า42,100 แห่ง ณ สิ้นปี 2559
เอไอเอส ขยายธุรกิจการให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูง ภายใต้แบรนด์ “AIS Fibre” ด้วยการขยายโครงข่ายใยแก้วนำแสงที่เป็นเทคโนโลยีล่าสุดครอบคลุม 5.2 ล้านครัวเรือนใน 28 จังหวัดและมีลูกค้าจำนวนกว่า 301,500 ราย ภายในระยะเวลาเพียง 1 ปี 6 เดือนที่ได้เริ่มให้บริการ
ไทยคม ประสบความสำเร็จในการจัดส่งดาวเทียมไทยคม 8ขึ้นสู่วงโคจร ณ ตำแหน่งที่ 78.5 องศาตะวันออก เมื่อวันที่28 พฤษภาคม 2559 ทำให้ไทยคมมีดาวเทียมที่สามารถให้บริการได้ ณ ปัจจุบันจำนวน 5 ดวงปี 2558
บริษัท อินทัช มีเดีย จำกัด (อินทัช มีเดีย) และบริษัท ฮุนไดโฮมช็อปปิ้ง เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น (ฮุนได โฮมช็อปปิ้ง) ประเทศเกาหลีใต้ จัดตั้งบริษัทร่วมทุนภายใต้ชื่อ “บริษัท ไฮ ช็อปปิ้ง จำกัด”(ไฮ ช็อปปิ้ง) เพื่อดำเนินธุรกิจโฮมช็อปปิ้งในประเทศไทย ด้วยทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท โดยอินทัช มีเดีย ร่วมลงทุน 255ล้านบาท หรือถือหุ้นร้อยละ 51 และฮุนได โฮมช็อปปิ้ง ถือหุ้นร้อยละ 49 ตามลำดับ
อินทัช มีเดีย และบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)(กันตนา กรุ๊ป) ผลิตซีรีส์ Gossip Girl Thailand และแอพพลิเคชั่นบนหน้าจอทางเลือกที่ 2 (Second Screen) โดยสามารถใช้แอพพลิเคชั่นอย่างเต็มรูปแบบในขณะรับชมรายการทางโทรทัศน์เพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างผู้ชมกับเนื้อหาบนจอทีวี
บริษัทลงทุนในบริษัทร่วมลงทุนในโครงการอินเว้นท์เพิ่มอีกทั้งสิ้น 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท ซินโนส จำกัด บริษัท เพลย์เบสิสพีทีอี ลิมิเต็ด บริษัท กอล์ฟดิกก์ จำกัด และบริษัท ชอปสปอทโมบิลิตี้ พีทีอี ลิมิเต็ด
เอไอเอส เปิดให้บริการ “AIS Fibre” บรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตบ้าน ความเร็วสูงสุด 1 Gbps ซึ่งเป็นรายแรกและรายเดียวที่ให้บริการPURE Fibre โดยนำเสนอพร้อมแพ็กเกจความบันเทิงจากกล่องทีวี อินเทอร์เน็ต AIS PLAYBOX
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 เอดับบลิวเอ็น ได้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ชุดที่ 2 ช่วงความถี่วิทยุ 1725-1740 เมกะเฮิรตซ์ คู่กับ 1820-1835เมกะเฮิรตซ์ จาก กสทช. และได้เปิดให้บริการ 4G ด้วยสถานีฐานกว่า 6,000 แห่ง ในเดือนมกราคม 2559
บริษัท เชนนิงตัน อินเวสเม้นท์ส พีทีอี ลิมิเต็ด (เชน) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของไทยคม ร่วมกับรัฐบาลของ สปป. ลาว ได้ลงนามในข้อตกลงในการขยายเวลาของสัญญาร่วมทุนและสัญญาอนุญาตให้ดำเนินการในการให้บริการทางด้านโทรคมนาคมใน สปป. ลาวซึ่งมีผลให้ บริษัท ลาว เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด บริษัทร่วมค้าที่ไทยคมถือหุ้นผ่านเชน ได้รับการต่ออายุสิทธิในการให้บริการทางด้านโทรคมนาคมใน สปป. ลาว ต่อไปอีก 25 ปี จนถึงปี 2589
บริษัท เปลี่ยนชื่อและตราสำคัญของบริษัทเป็น บริษัทอินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และภาษาอังกฤษเป็น Intouch Holdings Public Company Limited เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2557
บริษัท ทรานสคอสมอส จำกัด จากประเทศญี่ปุ่น เข้าถือหุ้นในบริษัท อุ๊คบี จำกัด (อุ๊คบี) ร้อยละ 11.11 หลังจากการเพิ่มทุนด้วยมูลค่าการลงทุน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือ 161.6 ล้านบาท) ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของอินทัชในอุ๊คบีลดลง เหลือร้อยละ 22.26
บริษัทได้เปลี่ยนนโยบายการจ่ายเงินปันผลจาก “ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษี” เป็น “จากเงินปันผลส่วนใหญ่ที่บริษัทได้รับจากบริษัทร่วมและบริษัทย่อยหลังหักค่าใช้จ่าย”
อินทัช มีเดีย ได้ร่วมลงทุนในกิจการร่วมค้ากับกันตนา กรุ๊ปในสัดส่วนฝ่ายละร้อยละ 50 มีเงินลงทุนเบื้องต้นจำนวน 40 ล้านบาทเพื่อลงทุนและผลิตรายการสำหรับการออกอากาศในช่องโทรทัศน์ทางช่องดิจิทัล และเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจที่มีอยู่
อินทัชลงทุนในบริษัทอินฟินิตี้ เลเวล สตูดิโอ พีทีอี ลิมิเต็ดซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุนในโครงการอินเว้นท์
เอไอเอสขยายเครือข่าย AIS 3G 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ครอบคลุมทั่วประเทศและมากกว่าโครงข่าย 2G เดิม โดยเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่ใช้เวลาเพียง 1 ปีในการพัฒนาโครงข่ายให้ครอบคลุมและเร็วกว่าข้อกำหนดของ กสทช. ที่กำหนดให้ครอบคลุมร้อยละ 80ของจำนวนประชากรทั้งหมดภายใน 4 ปี
ไทยคม ได้จัดส่งดาวเทียมไทยคม 6 ขึ้นสู่วงโคจร ณ ตำแหน่งวงโคจร 78.5 องศาตะวันออก ในวันที่ 6 มกราคม 2557
ไทยคม นำดาวเทียมไทยคม 7 ขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 7กันยายน 2557 ณ ตำแหน่งวงโคจร 120 องศาตะวันออก 39
บริษัท เปิดตัวโครงการร่วมลงทุนภายใต้ชื่อ อินเว้นท์ (InVent) ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนในรูปแบบคอร์ปอเรท เวนเจอร์ แคปปิตอล (Corporate Venture Capital) ด้วยการสนับสนุนเงินลงทุนให้กับนักธุรกิจรุ่นใหม่ (young entrepreneur) ที่มีศักยภาพในธุรกิจโทรคมนาคม สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิตอลคอนเทนต์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และยังเป็นการขยายการลงทุนที่จะทำให้กลุ่มอินทัชเติบโตมากขึ้นอีกด้วย
เอดับบลิวเอ็น เริ่มต้นให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ อย่างเป็นทางการ
บริษัท เปิดตัวโครงการร่วมลงทุนภายใต้ชื่อ อินเว้นท์ (InVent) ซึ่งนับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ครั้งแรกของวงการธุรกิจไทย กับการร่วมลงทุนในรูปแบบคอร์ปอเรท เวนเจอร์ แคปปิตอล (Corporate Venture Capital) ด้วยการสนับสนุนเงินลงทุนให้กับกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย (Small and Medium Enterprises – SMEs) ที่มีศักยภาพในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และสื่อ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก พร้อมรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) ในปี 2558 ขณะเดียวกันยังเป็นการขยายการลงทุนที่จะทำให้กลุ่มอินทัชเติบโตมากขึ้นอีกด้วย
บริษัทร่วมลงทุนรายแรกในโครงการอินเว้นท์ คือ บริษัท อุ๊คบี จำกัด (อุ๊คบี) โดยถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 25.03 คิดเป็นเงินลงทุนทั้งสิ้น 57.48 ล้านบาท
บริษัทแอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค (เอดับบลิวเอ็น) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ เอไอเอส ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 99.99 ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
ไทยคมได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทที่ 3 จาก กสทช. มีระยะเวลา 20 ปี โดยไทยคม 7 เป็นดาวเทียมดวงแรกของบริษัทภายใต้ใบอนุญาต
บริษัท เปลี่ยนเครื่องหมายการค้าจาก “SHIN” เป็น “INTOUCH” (อินทัช) โดยเปลี่ยนจากสัญลักษณ์ลูกโลกเดิมที่ใช้มากว่า 20 ปี สู่สัญลักษณ์ใหม่ที่สามารถสะท้อนความเป็นมิตรได้ดียิ่งขึ้น ใกล้ชิด และสัมผัสได้ง่ายขึ้น
ไทยคมได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการสร้างดาวเทียมไทยคม 6
ไทยคมได้มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับ Asia Satellite Telecommunications Co., Ltd. ในการจัดหาดาวเทียมชั่วคราว ไปไว้ยังตำแหน่งวงโคจรที่ 120 องศาตะวันออก หลังจากนั้นจะจัดส่งดาวเทียมดวงใหม่ ขึ้นสู่วงโคจรในปี 2557 ความร่วมมือระหว่างสองบริษัทในครั้งนี้ จะช่วยรักษาสิทธิ์ของประเทศไทยในตำแหน่งวงโคจรที่ 120 องศาตะวันออก และจะทำให้มีช่องสัญญาณเพิ่มเติมสำหรับให้บริการช่องสัญญาณโทรทัศน์ โทรคมนาคมและบรอดแบนด์ทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกอีกด้วย
บริษัท ขายเงินลงทุนในเอไอเอส บางส่วนจำนวน 61 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 2.05 ของทุนชำระแล้วของเอไอเอส ให้แก่ Singtel Strategic Investments Pte. Ltd. ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นเดิมของเอไอเอส ในราคา 130 บาทต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 7,930 ล้านบาท ทั้งนี้ ภายหลังจากการจำหน่ายหุ้นดังกล่าว บริษัทยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของเอไอเอส คิดเป็นร้อยละ 40.45 ของทุนชำระแล้วของเอไอเอส และการขายหุ้นในครั้งนี้ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในอำนาจควบคุมและการดำเนินงานของเอไอเอสแต่อย่างใด
ไทยคมได้ทำการปลดระวางดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ออกจากวงโคจร หลังจากครบกำหนดอายุการใช้งาน พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในปี 2554
บริษัท ขายหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมดในพีเอส
เอไอเอสซื้อหุ้นของบริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด (เอเอ็มพี) ส่วนที่ NTT DoCoMo Co., Ltd. ถืออยู่ทั้งหมด ทำให้สัดส่วนการลงทุนของเอไอเอส ในเอเอ็มพี เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 99.99
เอไอเอสขายหุ้นของบริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่เอไอเอส ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 51 ให้ดีพีซี ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ เอไอเอส ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 98.55 เพื่อเป็น การปรับโครงสร้างของสายธุรกิจ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งเป็นการผนวกจุดแข็งของเครือข่ายการสื่อสาร ข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กับเครือข่ายบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
ซีเอสแอล ลดทุนจดทะเบียนของบริษัท โดยการลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้เดิม 1 บาทต่อหุ้น เป็น 0.25 บาทต่อหุ้น
ตามมติคณะรัฐมนตรีในวันที่ 6 มีนาคม 2550 ที่อนุมัติให้ระงับการออกอากาศของไอทีวี โดยสำนักปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ได้มีหนังสือมายังไอทีวี ในวันที่ 7 มีนาคม 2550 เพื่อบอกเลิกสัญญาเข้าร่วม งานฯ กับไอทีวี โดยอ้างเหตุว่าไอทีวี ไม่ดำเนินการชำระหนี้ตามที่ สปน. เรียกร้อง และขอให้ส่งมอบทรัพย์สิน ที่ไอทีวี มีไว้ใช้ในการดำเนินกิจการตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ คืนให้แก่ สปน. ซึ่งการบอกเลิกสัญญาดังกล่าว เป็นเหตุให้ไอทีวี จำเป็นต้องหยุดดำเนินธุรกิจสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยูเอช เอฟ อย่างไรก็ตามไอทีวี ยังคง ดำเนินคดีฟ้องร้องกับ สปน. ต่อไปตามกระบวนการระงับข้อพิพาทตามสัญญาฯ และข้อเรียกร้องค่าเสียหาย ข้ออื่นๆ ที่เรียกร้องให้ สปน. ชดเชยความเสียหายโดยชำระคืนเป็นเงินสดให้แก่ไอทีวี โดยคดีความระหว่าง ไอทีวี และสปน.อยู่ในกระบวนการระงับข้อพิพาทที่สถาบันอนุญาโตตุลาการ
บริษัท ซื้อหุ้น บริษัท เพย์เม้นท์ โซลูชั่น จำกัด (พีเอส) ในสัดส่วนร้อยละ 99.99 จากโอเค
บริษัท ขายหุ้นโอเค ที่ถืออยู่ทั้งหมดให้กับ บริษัท เอแคป แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัด (มหาชน) และ ORIX Corporation
บริษัท ขายหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมดในเอเอ ในสัดส่วนร้อยละ 49 ให้กับกลุ่มผู้บริหารระดับสูงของทีเอเอ
ไทยคมขายหุ้นบริษัท เชนนิงตัน อินเวสท์เมนท์ พีทีอี จำกัด (เชน) ในสัดส่วนร้อยละ 49 ให้แก่ Asia Mobile Holdings Pte. Ltd. ทำให้สัดส่วนการลงทุนของไทยคมในเชน ลดลงเหลือร้อยละ 51
ดาวเทียมไทยคม 5 ได้ถูกส่งเข้าวงโคจรเป็นผลสำเร็จ และได้ดำเนินการปลดระวางดาวเทียมไทยคม 3 ออกจากวงโคจรค้างฟ้าตำแหน่งที่ 50.5 องศาตะวันออกไปสู่อวกาศ
เนื่องจากระบบพลังงานไฟฟ้า ของดาวเทียมไม่เพียงพอต่อการให้บริการ บริษัท ซื้อหุ้นโอเค ที่ธนาคารดีบีเอสถืออยู่ทั้งหมด ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ในโอเค เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 99.99
จัดโครงสร้างการถือหุ้นในทีเอเอ โดยขายหุ้นทีเอเอที่บริษัทถืออยู่ทั้งหมด ให้กับบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (เอเอ) ซึ่งเป็นบริษัทที่บริษัทถือหุ้นอยู่ในสัดส่วนร้อยละ 49 ทำให้
สัดส่วนการลงทุนทางอ้อม ของบริษัทในทีเอเอลดลงเหลือร้อยละ 24.50
จัดโครงสร้างการถือหุ้นในบริษัท เอดี เวนเจอร์ จำกัด (เอดีวี) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใน บริษัท ชินนี่ดอทคอม จำกัด ซึ่งให้บริการข้อมูลข่าวสารและสาระความบันเทิงสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Contents) และบริการเว็บท่า hunsa.com โดยซีเอสแอลเข้าซื้อหุ้นเอดีวีจากบริษัทและกลุ่ม Mitsubishi ทำให้ซีเอสแอล เข้าถือหุ้นในทั้งหมดในเอดีวี
ไทยคมเพิ่มทุนโดยการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อยรวม 208 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 15.30 บาท รวม 3,182 ล้านบาท ซึ่งทำให้สัดส่วนการลงทุนของบริษัทในไทยคม ลดลงเป็นร้อยละ 41.34
ดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ได้ถูกส่งเข้าวงโคจร ซึ่งเป็นดาวเทียมบรอดแบนด์ดวงแรกของภาคพื้น เอเชียแปซิฟิก และเริ่มให้บริการอย่างเต็มรูปแบบแก่ ทีโอที ซึ่งเป็นผู้ให้บริการหลักในประเทศไทย
ไอทีวี ร่วมกับพันธมิตรญี่ปุ่น คือ CA Mobile Ltd. และ Mitsui & Co., Ltd. (Mitsui) ร่วมกันจัดตั้ง บริษัท มีเดีย คอนเน็คซ์ จำกัด (เอ็มซี) เพื่อประกอบธุรกิจผลิตเนื้อหาและสื่อโฆษณาบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 60, 25 และ 15 ตามลำดับ ต่อมาในปี 2549 มีการเปลี่ยนสัดส่วนการถือหุ้น ในเอ็มซีโดยคงเหลือไอทีวี และ Mitsui ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 60 และ 40 ตามลำดับ
ซีเอสแอลซื้อหุ้นทีเอ็มซีที่เหลือจากทีโอที ในสัดส่วนร้อยละ 36.75 ทำให้ซีเอสแอลเข้าถือหุ้นทั้งหมดในทีเอ็มซี
มีการจัดโครงสร้างการถือหุ้นในบริษัท เทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด (ทีเอ็มซี) โดยให้ บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) (ซีเอสแอล) เข้าซื้อหุ้นทีเอ็มซี จากบริษัท สัดส่วนร้อยละ 38.25 และซื้อหุ้น ทีเอ็มซีจาก Singtel Interactive Pte. Ltd. ในสัดส่วนร้อยละ 25 ทำให้ซีเอสแอล เข้าถือหุ้นในทีเอ็มซี ในสัดส่วนร้อยละ 63.25 เพื่อดำเนินธุรกิจที่เกื้อหนุนกัน และสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านการบริการจากความแข็งแกร่งของฐาน ข้อมูลของทีเอ็มซี
ซีเอสแอลเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก
บริษัท เข้าลงทุนในสองธุรกิจใหม่ โดยร่วมกับ AirAsia Sdn. Bhd. จากประเทศมาเลเซีย ก่อตั้งบริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด (ทีเอเอ) ในสัดส่วนร้อยละ 50 และ 49 ตามลำดับ เพื่อให้บริการสายการบิน ราคาประหยัดในประเทศไทย และร่วมกับธนาคารดีบีเอสจากประเทศสิงคโปร์ ก่อตั้งบริษัท แคปปิตอล โอเค จำกัด (โอเค) ในสัดส่วนร้อยละ 60 และ 40 ตามลำดับ เพื่อดำเนินธุรกิจการให้สินเชื่อส่วนบุคคล โดยทั้งสองธุรกิจเริ่มให้บริการในปี 2547
ไอทีวีเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยออกหุ้นสามัญออกขายให้นักลงทุน เป็นการทั่วไป เป็นครั้งแรก พร้อมกันนี้ บริษัท นำหุ้นไอทีวีที่ถืออยู่บางส่วนเสนอขายพร้อมกัน ทำให้สัดส่วนการลงทุนของบริษัท ในไอทีวี ลดลงเป็นร้อยละ 55.53
มีการจัดโครงสร้างการถือหุ้นในสายธุรกิจโทรคมนาคมไร้สาย โดยให้เอไอเอส เข้าถือหุ้นดีพีซีโดยตรง ในสัดส่วนร้อยละ 98.17 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นหลังจากที่ได้มีการซื้อหุ้นดีพีซี จาก TMI Mauritius Limited ที่ถืออยู่ทั้งหมด
บริษัท และเอไอเอส เปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้จาก 10 บาทต่อหุ้นเป็น 1 บาทต่อหุ้น
บริษัท ซื้อหุ้นไอทีวี เพิ่มจากธนาคารไทยพาณิชย์ และซื้อหุ้นไอทีวี ผ่านการทำคำเสนอซื้อ หลักทรัพย์ทั้งหมดของไอทีวี ทำให้สัดส่วนการลงทุนของบริษัท ในไอทีวี เพิ่มเป็นร้อยละ 77.48
บริษัท เข้าลงทุนในบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด (ดีพีซี) ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ ดิจิตอล GSM ย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ โดยเข้าซื้อหุ้นดีพีซี จากบริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วนร้อยละ 45.59 และต่อมาเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนในดีพีซี ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 47.55
บริษัท เข้าลงทุนในบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (ไอทีวี) ในสัดส่วนร้อยละ 39 โดยซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ ไอที
Singapore Telecom International Pte. Ltd. เข้าร่วมลงทุนในเอไอเอส ทำให้สัดส่วนการลงทุนของบริษัทในเอไอเอส ลดลงเหลือประมาณร้อยละ 42
ดาวเทียมไทยคม 3 ได้ถูกส่งเข้าวงโคจรเป็นผลสำเร็จ
บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (เปลี่ยนเป็นบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ในปี 2542 และเปลี่ยนเป็นบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) (ไทยคม) ในปี 2551)
ดาวเทียมไทยคม 2 ได้ถูกส่งเข้าวงโคจรเป็นผลสำเร็จ
ดาวเทียมไทยคม 1 ได้ถูกส่งเข้าวงโคจรเป็นผลสำเร็จ
บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน
บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด ได้รับอนุญาตจากกระทรวงคมนาคมให้เป็นผู้จัดสร้าง จัดส่ง และให้บริการดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติโดยมีอายุ 30 ปีคุ้มครองสิทธิภายในเวลา 8 ปี
เอไอเอสเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และต่อมาจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน ในปี 2535
บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ จำกัด เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(เอไอเอส)ได้รับอนุญาตจาก องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ปัจจุบัน คือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (ทีโอที)) ให้ดำเนินการติดตั้งและให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเซลลูลาร์ 900 ตามสัญญาร่วมการงานแบบบีทีโอ (BTO: Build-Transfer-Operate) เป็นระยะเวลา 20 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้ขยายเวลาของสัญญาร่วมการงานเป็น 25 ปี สิ้นสุดปี 2558
จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ เซอร์วิส แอนด์ อินเวสเมนท์ จำกัด วัตถุประสงค์หลักคือ จำหน่ายและให้เช่าคอมพิวเตอร์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ (เปลี่ยนเป็นบริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ จำกัด ในปี 2527 และเปลี่ยนเป็นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)(บริษัท) ในปี 2544)